ไม่มีข้อมูล

ค้นหาในทุกหมวด
*โปรดระบุคำค้นหา
10 มีนาคม 2565

4 วิธีการแก้ปัญหาสำหรับอาการหมดใจในการทำงาน

อัศวินคิดว่า เวลาที่เราพูดถึงปัญหาในการทำงานนั้น นอกจากปัญหาหมดไฟในการทำงานแล้ว หลายคนอาจจะกำลังเจออีกภาวะหนึ่งที่เรียกว่า ‘Brownout’ หรือ ‘อาการหมดใจในการทำงาน’ ซึ่งผลกระทบจากความรู้สึกที่หมดใจไม่อยากทำงานนั้น ทำให้เรารู้สึกแย่ มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ไม่รู้จะทำงานไปเพื่ออะไร ไม่มีความสุข จนอยากจะลาออกไปในที่สุด

ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนที่กำลังรู้สึกอย่างนี้อยู่ อัศวินคิดว่าถึงเวลาแล้ว ที่เราควรจะต้องมาเริ่มแก้ปัญหากัน ก่อนที่ความหมดใจจะทำให้เราไม่มีความก้าวหน้าในการทำงาน ดังนั้นอัศวินจึงมี 4 วิธีการแก้ปัญหามาแนะนำดังนี้ครับ

1. สื่อสารเพื่อทบทวนเป้าหมาย

อัศวินคิดว่าหลาย ๆ ครั้งที่เราหมดใจในการทำงาน อาจจะเป็นเพราะเป้าหมายต่าง ๆ ไม่ค่อยชัดเจน ทางที่ดีลองเข้าไปพูดคุยกับหัวหน้าและทีมงานดูไหมว่า จริง ๆ แล้วสิ่งที่แต่ละคนต้องทำคืออะไร เราจะช่วยสนับสนุนการทำงานให้แต่ละคนอย่างไรได้บ้าง และอย่าลืมทำความเข้าใจกับหัวหน้าว่า กฎระเบียบต่าง ๆ มีความสำคัญอย่างไร และการวัดผลในการทำงานนั้นจริง ๆ เป็นอย่างไร หากเราพูดคุยกันมากขึ้น เราจะมีความเข้าใจกัน ส่งผลให้เป้าหมายในการทำงานของเราชัดเจนขึ้น เมื่อเราเข้าใจทุกอย่างและรู้ว่าควรจะต้องทำอะไร เราก็จะกลับมามีกำลังใจในการทำงานมากขึ้นอย่างแน่นอน

2. เรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จ

เชื่อไหมครับว่า แม้เราจะรู้ว่าองค์กรที่เราอยู่มันน่าเบื่อและไม่อยากทำงานด้วยแล้ว ถ้าเรามองไปรอบ ๆ เราอาจจะเจอเพื่อนของเราบางคน ที่ยังคงทำงานในที่เดียวกับเราได้อย่างมีความสุขตลอดเวลา แถมยังมีพลังใจเต็มร้อยในการสร้างผลงานของตัวเองได้อยู่เสมอ ๆ อัศวินคิดว่าเราสามารถเรียนรู้วิธีการจากเพื่อนของเราได้นะว่าเขาทำอย่างไร โดยลองสังเกตและเข้าไปพูดคุยกับเขา เพื่อให้เราได้ทราบแนวคิดในการทำงาน และวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเป็นอีกวิธีที่เราจะได้แนวทางดี ๆ มาปรับใช้ และยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เราทำงานได้ดีและมีความสุขขึ้นกว่าแต่ก่อนด้วย

3. หัดให้รางวัลกับตัวเอง

ในวันที่เรากำลังรู้สึกว่าเบื่องาน ไม่อยากทำงานแล้ว อัศวินคิดว่าเราอาจจะลองสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับตัวเองมากขึ้นดีไหมครับ ด้วยการลองกำหนดเป้าหมายการทำงานพร้อมให้รางวัลกับตัวเอง ตัวอย่างเช่น กำหนดไว้เลยว่า หากเราทำงานเสร็จตามกำหนด เราสามารถซื้อของที่เราอยากได้ หรือจะไปหาอะไรอร่อย ๆ กินในร้านอาหารที่เราชอบ ข้อดีของวิธีการนี้ก็คือ การหัดเห็นอกเห็นใจตัวเองเสียบ้าง เพราะบางครั้งเราอาจจะมีภาวะที่กำลังกดดันตัวเองโดยไม่รู้ตัว ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้ได้เลยโดยไม่ต้องพึ่งพาใคร และอัศวินเชื่อว่าในระยะยาว เราจะมีความสุขไปพร้อมกับการทำงานได้ไม่ยาก

4. ทำในสิ่งที่เราสนใจโดยไม่มีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้อง

อีกวิธีที่อัศวินมักจะแนะนำให้กับเพื่อน ๆ คือการลองมาหาอย่างอื่นทำกันดู เผื่อจะได้แรงบันดาลใจใหม่ ๆ ให้กับชีวิตและทำให้เราได้รู้ว่าชีวิตของเรายังมีอีกหลายด้านที่สร้างคุณค่าและความสุขได้เช่นกัน เช่น การทำงานอดิเรกในช่วงว่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าครัวหัดทำขนม การเล่นดนตรี การเล่นกีฬา แน่นอนว่าการทำงานอดิเรกที่เราชอบนั้น จะทำให้ได้ใช้ความคิดไปกับเรื่องอื่น ๆ และทำให้เรานั้นเครียดจากการทำงานน้อยลง นอกจากนี้เราอาจจะพบความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการทำงานมากขึ้นอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าภาวะหมดใจในการทำงานอาจจะเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากวันนี้มันเกิดขึ้นกับเรา ก็อย่าปล่อยไว้นะครับ เพราะนอกจากเราจะเครียดและมีปัญหาทางอารมณ์แล้ว การที่เราไม่อยากทำอะไรเลยนั้น จะส่งผลร้ายต่อความก้าวหน้าต่อการทำงานในอนาคตของเราด้วย

ไม่ว่าเราจะเจอกับอาการหมดใจมามากน้อยแค่ไหน แต่ก็ห้ามมองข้ามเรื่องการวางแผนเพื่อนาคตที่ดีนะครับ
เริ่มกันตั้งแต่วันนี้ด้วย iLink ประกันไฮบริด จากกรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต บทบาทใหม่ของประกันชีวิตควบการลงทุน ให้คุณเลือกเพิ่มความคุ้มครองได้ดั่งใจ หลากหลายตามไลฟ์สไตล์ที่เป็นตัวคุณ พร้อมประโยชน์ที่เหนือกว่าด้วย

· จำนวนเงินเอาประกันภัยสูงสุด 280 เท่า*

· ให้ผลประโยชน์สูงสุด 3 ต่อ กรณีเสียชีวิต

· แนบสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรงได้ ความคุ้มครองสูงสุด 200%

สนใจติดต่อสอบถามที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ได้ที่ โทร 1159 หรือทางเว็บไซต์ https://ktaxa.live/ilink-cs-21

บทความด้านการลงทุนที่สำคัญ