ไม่มีข้อมูล

ค้นหาในทุกหมวด
*โปรดระบุคำค้นหา
11 มีนาคม 2565

3 เทคนิคป้องกันความเจ็บปวดทางการเงินในยุคโควิด

เพื่อน ๆ เคยสังเกตตัวเองไหมครับ เวลาที่เราจ่ายเงินด้วยเงินสด บัตรเครดิต หรือการโอน ความรู้สึกในการจ่ายนั้นจะแตกต่างกันออกไป หากนึกภาพไม่ออกอัศวินขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ แล้วกันนะครับ

กรณีที่เราอยากได้ของชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีราคา 5,000 บาท ถ้าเราหยิบแบงค์พันออกมาจำนวน 5 ใบจากกระเป๋า เพื่อจ่ายเงิน เราจะเริ่มมีความรู้สึกเสียดายเงินอย่างชัดเจน ในทางตรงกันข้าม หากเราหยิบบัตรเครดิตมาจ่ายสินค้าชิ้นนั้นในราคาเดิมกลับมีความรู้สึกเสียดายน้อยกว่า แถมยังตัดสินใจซื้อของได้ง่ายกว่าอีกด้วย หลายคนคงสงสัยว่าความรู้สึกเสียดายที่ไม่เท่ากันนี้คืออะไร

อัศวินอยากบอกว่านี่คือภาวะของ Pain of Payment หรือภาวะความเจ็บปวดจากการจ่ายเงินที่ไม่เท่ากัน ซึ่งเกิดจากการทำงานของประสาทสัมผัสที่เราได้เห็นมูลค่าของเงินที่จับต้องได้และรับรู้ว่าเรากำลังจะเสียเงินไป จนเกิดความรู้สึกเสียดายที่จะใช้เงินนั้น บวกกับในเวลานี้ช่องทางการชำระเงินมีความสะดวกสบายมากว่าแต่ก่อน สามารถ รูด โอน และสแกนบนระบบออนไลน์แพลตฟอร์ม ที่ทำให้เราเกิดพฤติกรรมซื้อง่ายจ่ายคล่องจนหลงลืมความเสียดายอย่างที่กล่าวมา และจะไปรู้สึกเจ็บปวดมาก ๆ อีกที ก็ตอนที่ยอดเงินในบัญชีคงเหลือน้อย พร้อมกับยอดบัตรเครดิตจำนวนมากที่มาตามเก็บในช่วงปลายเดือน

ดังนั้น อัศวินจึงอยากมาแนะนำวิธีการบริหารการใช้เงินให้เรามีความเจ็บปวดและเสียดายน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าเรายังจำเป็นจะต้องใช้วิธี รูด โอน สแกน กับสินค้าและบริการที่เราจำเป็นต้องใช้อย่างต่อเนื่อง กับการใช้ชีวิตและทำงานอยู่ที่บ้านกับสถานการณ์โควิดในช่วงนี้

รูดบัตรแล้วระบม ต้องรู้วงเงินก่อนใช้

อาการก่อนความเจ็บปวดด้านการเงินของการใช้บัตรเครดิตของใครหลายๆ คน คือ การไม่ได้สำรวจวงเงินที่สามารถใช้ได้ ไปพร้อมกับความสามารถในการชำระคืนตามเงื่อนไขของบัตรเครดิต ที่นำเงินในอนาคตมาใช้จ่ายก่อน แล้วค่อยนำไปคืนทีหลังตามระยะเวลาที่กำหนด พร้อมกับการคิดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มในกรณีที่จ่ายช้า

อัศวินคิดว่าหากเราไม่มีความเข้าใจพื้นฐานในการใช้บัตรเครดิต นี่อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่เรากำลังจะเจอความเจ็บปวดจากการใช้เงินในอนาคตอันใกล้อย่างรุนแรงได้ วิธีการแก้ไขง่ายมาก คือการทำความเข้าใจวงเงิน เงื่อนไขบัตร และทำบัญชีรายรับและรายจ่าย เพื่อประเมินว่าเราสามารถจ่ายคืนได้เต็มจำนวนในแต่ละครั้งที่จ่ายไปนั่นเอง

2 โอนความเสี่ยง ด้วยการตั้งคำถามถึงความจำเป็น

การโอนเงินเพื่อชำระสินค้าและบริการก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สะดวกสบาย โดยเฉพาะในยุคที่เราต้องใช้ชีวิตและทำงานที่บ้านจนกลายเป็นกิจวัตรหลักไปแล้ว การโอนเงินค่าอาหาร เครื่องดื่ม และของหวานประจำวันผ่านแอปพลิเคชันจึงเป็นเรื่องปปกติไปโดยปริยาย แต่ข้อควรระวังก็คือการใช้จ่ายที่เคยชินจนเกินไปในแต่ละวัน สามารถค่อย ๆ สั่งสมความเจ็บปวดต่อสภาพคล่องทางการเงินได้ จนทำให้ช่วงเวลาที่เหลือในแต่ละเดือนเกิดความขัดสนและส่งผลต่อสภาพจิตใจในการใช้ชีวิตและการทำงาน

อัศวินเลยอยากแนะนำให้ลองตั้งคำถามก่อนการจ่ายโอนในแต่ละครั้งว่า เงินที่กำลังจะโอนเพื่อแลกกับข้าวของชิ้นนั้นจำเป็นมากน้อยแค่ไหน หรือเกิดจากความเคยชิน คำถามสั้นๆ นี้อาจช่วยระงับความเจ็บปวดทางการเงินในช่วงสิ้นเดือนของทุกๆ คนได้แบบคาดไม่ถึงเลยล่ะ

บทความด้านการลงทุนที่สำคัญ