ปัจจุบันเงินเฟ้อมีการโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่าครองชีพของคนไทยสูงขึ้นอย่างมาก ตอนนี้ที่เรายังมีแรงหาเงินได้เพียงพอกับค่าครองชีพ อาจจะยังรู้สึกไม่ได้กระทบกับการใช้ชีวิตมากนัก แต่ชีวิตหลังเกษียณที่เราไม่สามารถหาเงินได้เท่าตอนนี้ “เบี้ยผู้สูงอายุ” ในอนาคตอาจจะไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายพื้นฐานในชีวิตได้ ถ้าเราไม่มีการวางแผนเก็บเงินสร้างหลักประกันหลังเกษียณเพียงพอ วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปย้อนดูเส้นทางการเพิ่มเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ เพื่อดูแนวโน้มว่าจะเพียงพอกับในอนาคตหรือไม่ พร้อมชวนทุกคนมาวางแผนการเงินไว้ใช้ชีวิตหลังเกษียณด้วย ‘ประกันเกษียณอายุ’ กัน
โดยก่อนที่เราจะไปดูเส้นทางการเพิ่มเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ เพื่อดูแนวโน้มว่าจะเพียงพอกับในอนาคตหรือไม่กันนั้น เราขอพาไปดูสถานการณ์เงินเฟ้อปัจจุบันของไทยกันก่อน ว่ามีความน่ากังวลมากน้อยขนาดไหน
สถานการณ์เงินเฟ้อปัจจุบัน ส่งผลกระทบกับค่าครองชีพ
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคหรือเงินเฟ้อทั่วไปเดือน กรกฎาคม 2567 เท่ากับ 108.71 เทียบกับ มิถุนายน 2567 เพิ่มขึ้น 0.19% เทียบกับเดือน กรกฎาคม 2566 เพิ่มขึ้น 0.83% เป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ทำให้ภาพรวมเงินเฟ้อ 7 เดือนของปี 2567 (ม.ค.-ก.ค.) เพิ่มขึ้น 0.11% โดยเงินเฟ้อเดือน กรกฎาคม 2567 ที่เพิ่มขึ้น 0.83% มาจากการสูงขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1.27% ดังนี้
● กลุ่มอาหารสำเร็จรูป คือ กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวราดแกง อาหารเช้า อาหารตามสั่ง
● กลุ่มผลไม้สด คือ เงาะ ทุเรียน มะม่วง กล้วยน้ำว้า แตงโม ฝรั่ง
● กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง คือ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว
● กลุ่มผักสด คือ มะเขือเทศ ต้นหอม ขิง ฟักทอง แตงกวา
● กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม คือ ไข่ไก่ นมสด นมถั่วเหลือง
● กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ คือ กาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ น้ำหวาน
● กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร คือ น้ำตาลทราย กะทิสำเร็จรูป มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด)
จากข้อมูลสถานการณ์เงินเฟ้อปัจจุบันของไทยที่เรากล่าวไปข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่าสินค้าที่มีการปรับราคาสูงขึ้นจนส่งผลกระทบกับค่าครองชีพนั้น ล้วนเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญในชีวิตประจำทั้งนั้น ซึ่งในเดือนถัดไปเรื่อยๆ เงินเฟ้อยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้มากขึ้นอีก เราจึงวางใจไม่ได้เลยว่าเงินเก็บของเราจะเพียงพอกับการเกษียณอายุในอนาคตหรือไม่
แต่สำหรับใครที่คิดว่าเงินเก็บของเราปกติเมื่อรวมกับเบี้ยผู้สูงอายุที่จะได้รับในอนาคตจะเพียงกับค่าใช้จ่ายในอนาคต เราจึงขอพาไปดูเส้นทางเบี้ยผู้สูงอายุตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันว่าตลอดระยะเวลา 30 กว่าปี มีการเพิ่มขึ้นมามากเท่าไหร่ เพื่อนำไปประกอบการวางแผนทางการเงินกัน
เส้นทางทางการการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
● ปี 2535 สวัสดิการที่ให้กับผู้สูงอายุที่ยากจน อายุ 60 ปีขึ้นไป 200 บาท
● ปี 2542 ปรับจำนวนเบี้ยยังชีพเพิ่มขึ้น เป็น 300 บาท
● ปี 2544 เพิ่มเงื่อนไขเป็นผู้สูงอายุมีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ โดยเบี้ยยังชีพคงเดิม 300 บาท ต่อเดือน ต่อคน
● ปี 2549 ปรับเพิ่มจำนวนเงินเป็น 500 บาท ต่อเดือน
● ปี 2553 มีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบ ‘ถ้วนหน้า’ ในอัตรา 500 บาท ต่อเดือน ต่อคน มีการแก้ไขพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ สามารถเริ่มดำเนินนโยบายขยายเบี้ยยังชีพเพื่อให้ครอบคลุมแก่ผู้สูงอายุทุกคนอย่างถ้วนหน้า ในอัตรา 500 บาทต่อคนต่อเดือน โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องมีสัญชาติไทย อยู่ในภูมิลำเนาของเขตองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ
● ปี 2555–2566 ปรับอัตราเบี้ยยังชีพจากอัตราคงที่เป็นแบบขั้นบันได
○ อายุ 60–69 ปี ได้รับเงิน 600 บาท ต่อเดือน ต่อคน
○ อายุ 70–79 ปี ได้รับเงิน 700 บาท ต่อเดือน ต่อคน
○ อายุ 80–89 ปี ได้รับเงิน 800 บาท ต่อเดือน ต่อคน
○ อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับเงิน 1,000 บาท ต่อเดือน ต่อคน
ผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีรายได้เลี้ยงชีพในวัยเกษียณอายุที่เพียงพอกับความจำเป็นขั้นพื้นฐาน โดยผลวิจัยพบว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นขั้นต่ำของผู้สูงอายุทั่วประเทศอยู่ที่ประมาณ 1,500 บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าเบี้ยยังชีพสูงสุดในปัจจุบันที่ได้เพียง 1,000 บาทต่อเดือน และต้องได้เมื่ออายุ 90 ปีขึ้นไปแล้วเท่านั้นด้วย ที่สำคัญเบี้ยผู้สูงอายุไม่ได้มีการปรับขึ้นมามากกว่า 10 ปี แล้ว ซึ่งสวนทางกับค่าครองชีพในปัจจุบันที่สูงขึ้นอย่างมาก ดังนั้น การวางแผนเก็บเงินเพื่อเป็นหลักประกันหลังเกษียณอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรเตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้
เปลี่ยนเงินเก็บเป็นหลักประกันหลังเกษียณเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การวางแผนเก็บเงินเพื่อเป็นหลักประกันหลังเกษียณสามารถทำได้หลายวิธี การซื้อ “ประกันเกษียณอายุ” เก็บไว้ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีเก็บเงินที่สามารถช่วยสร้างผลตอบแทนให้เรามีรายได้หลังเกษียณอายุได้ โดยประกันเกษียณอายุจะไม่มีผลตอบแทนระหว่างทาง แต่ไปทยอยจ่ายผลประโยชน์เป็นงวด ๆ ในวัยเกษียณ โดยมีข้อดีมากมาย ดังนี้
ข้อดีประกันเกษียณอายุ
● ได้รับเงินบำนาญประจำทุกเดือน การทำประกันเกษียณอายุจะเป็นการรับประกันว่าเราจะมีรายได้ประจำ สม่ำเสมอ และต่อเนื่องหลังจากที่เกษียณอายุแล้ว โดยบริษัทประกันจะจ่ายผลประโยชน์ให้เราหลังจากอายุ 55 ปี หรือ 60 ปี (แล้วแต่แบบของกรมธรรม์) เรื่อยไปจนถึงอายุ 85 ปี เป็นอย่างน้อย
● ช่วยสร้างวินัยทางการเงินหลังเกษียณอายุได้ การทยอยจ่ายผลประโยชน์เป็นงวด ๆ จะช่วยให้เรามีการวางแผนทางการเงินหลังเกษียณอายุมากขึ้น เพราะถ้าเราไม่มีรายได้ทางอื่นแล้วใช้เงินหมดก่อนเงินงวดใหม่จะเข้า เราก็จะขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ โดยเฉพาะสถานการณ์จำเป็นอย่างการเข้าโรงพยาบาล
● ลดหย่อนภาษีได้ โดยจะต้องซื้อกรมธรรม์ที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และระบุชัดเจนว่าเป็นประกันชีวิตแบบบำนาญที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้
● คุ้มครองความเสี่ยงจากการเสียชีวิต กรณีที่ผู้เอาประกันจากไปก่อนวัยอันควร เราสามารถระบุผู้รับผลประโยชน์ได้ตามที่ต้องการ นอกจากนี้ ผลประโยชน์ที่ได้จากกรมธรรม์ประกันชีวิตจะได้รับยกเว้นภาษีอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การวางแผนเกษียณอายุด้วยการเก็บเงินและการซื้อประกันเกษียณอายุเก็บไว้
ไม่ได้เพียงช่วยให้เรามีเงินเก็บไว้ใช้เป็นค่าครองชีพในอนาคตหลังเกษียณอายุเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เรามีความอุ่นใจว่าถ้าเกิดการเจ็บป่วยที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยตามอายุที่มากขึ้น เราจะมีเงินรักษาตัวโดยไม่กระทบกับค่าจ่ายรายเดือนได้อีกด้วย